โรคปอดบวม (Pneumococcal) ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อรุนแรง ในประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนคอนจูเกตชนิด 13 สายพันธุ์ (PCV13) และ วัคซีนโพลีแซ็กคาไรด์ชนิด 23 สายพันธุ์ (PPSV23) วัคซีนทั้งสองชนิดนี้มีเป้าหมายป้องกันต่อสายพันธุ์ของเชื้อ Streptococcus pneumoniae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และการติดเชื้อร้ายแรงอื่น ๆ ในร่างกาย
วัคซีนป้องกันโรคปอดบวมสำหรับผู้ใหญ่มี 2 ชนิด:
- วัคซีนคอนจูเกตชนิด 13 สายพันธุ์ (PCV13)
- ครอบคลุมสายพันธุ์ 1, 3, 4, 5, 6A, 6B, 7F, 9V, 14, 18C, 19A, 19F, และ 23F
- วัคซีนชนิดนี้กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูงและครอบคลุมสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของโรคปอดบวมในประเทศไทยประมาณ 75%
- วัคซีนโพลีแซ็กคาไรด์ชนิด 23 สายพันธุ์ (PPSV23)
- ครอบคลุมสายพันธุ์ 1, 2, 3, 4, 5, 6B, 7F, 8, 9N, 9V, 10A, 11A, 12F, 14, 15B, 17F, 18C, 19A, 19F, 20, 22F, 23F, และ 33F
- วัคซีนชนิดนี้ครอบคลุมสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของโรคปอดบวมในประเทศไทยประมาณ 82%
คำแนะนำในการฉีดวัคซีน
- ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป: ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม
- ผู้ที่มีอายุ 18-64 ปี และมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง: เช่น
- โรคไตเรื้อรัง (ระยะที่ 4 ขึ้นไป)
- กลุ่มอาการเนโฟรติก (Nephrotic Syndrome) ทั้งในผู้ที่ไม่ได้ฟอกไตและกำลังฟอกไต
- การติดเชื้อ HIV ที่มีจำนวนเซลล์ CD4 < 200 เซลล์/ไมโครลิตร
- ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่มีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
- โรคมะเร็ง (เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Hodgkin, มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิด lymphocytic, มะเร็งไขกระดูก multiple myeloma)
- การรักษาที่กดภูมิคุ้มกัน (เช่น การใช้ยาสเตียรอยด์ระบบในระยะยาว หรือการบำบัดด้วยรังสี)
- ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ