Hotline: 098 (764) 7222

ยา PEP โล่ป้องกัน HIV ทันท่วงทีหลังความเสี่ยง อย่ารอให้สายเกินไป!

ยา PEP

โรค HIV ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก ในประเทศไทยมากกว่า 97% ของคนไข้ HIV เคสใหม่ มาจากการไม่ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ แม้ปัจจุบันจะมีการรักษาที่ก้าวหน้า แต่การป้องกันยังคงสำคัญที่สุด หนึ่งในวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพคือการกินยา PEP (Post-Exposure Prophylaxis) ซึ่งเป็นการกินยาต้านไวรัสหลังจากมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV

การรู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับยา PEP จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะยานี้สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ดังนั้น บทความนี้จะพามารู้จักการยา PEP ว่าคืออะไร เหมาะกับใครบ้าง และกินอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ยา PEP คืออะไร

ยา PEP คือ ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน ที่ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV ในกรณีที่มีความเสี่ยง เช่น หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย หรือการสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ HIV โดยจะต้องเริ่มใช้ภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสเชื้อ และต้องกินต่อเนื่องเป็นเวลา 28 วัน ซึ่งยา PEP ประกอบด้วยยาต้านไวรัส 3 ชนิด ที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส HIV ในร่างกาย

แล้วยา PEP ป้องกันเชื้อได้กี่เปอร์เซ็นต์? โดยประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อของยา PEP ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ไม่สามารถบอกเป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์ได้ – remove this

ยา PEP และ PrEP ต่างกันอย่างไร

ยา PEP และยา PrEP มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันเชื้อ HIV เหมือนกัน แตกต่างกันตรงที่ ยา PEP เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งยานี้สำหรับผู้ที่ไม่มีเชื้อ HIV กินหลังจากมีโอกาสติดเชื้อ

ในขณะที่ยา PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) เป็นยาที่ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV ในผู้ที่ไม่มีเชื้อ โดยต้องเริ่มกินก่อนที่จะมีโอกาสสัมผัสเชื้อ โดยผู้ใช้จำเป็นต้องกินยาอย่างถูกต้องซึ่งวิธีการกินมีหลายแบบ โดยจำเป็นต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ เพื่อให้มีระดับยาในร่างกายเพียงพอต่อการป้องกัน ซึ่งการกิน PrEP อย่างถูกต้องสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้เกือบ 100% ซึ่งยา PrEP เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่มีคู่รักที่ติดเชื้อ หรือผู้ที่ไม่สามารถใช้ถุงยางอนามัยได้ทุกครั้ง

ผู้ที่ควรรับยา PEP

การกินยา PEP ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และไม่ควรใช้เป็นวิธีป้องกันหลักในการติดเชื้อ HIV ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยงและต้องได้รับยา PEP มีดังนี้

  • ผู้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย: การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV
  • เกิดอุบัติเหตุระหว่างมีเพศสัมพันธ์: เช่น ถุงยางอนามัยฉีกขาด รั่ว หรือหลุดออก ซึ่งสามารถทำให้เกิดการสัมผัสเชื้อได้
  • ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ: รวมถึงผู้ที่ถูกข่มขืนหรือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง
  • ผู้ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น: การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้เสพสารเสพติด จะเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ HIV
  • เจ้าหน้าที่การแพทย์: บุคลากรทางการแพทย์ที่อาจสัมผัสเลือดหรือของเหลวจากผู้ติดเชื้อ เช่น การถูกเข็มทิ่มตำ หรือบาดเจ็บจากอุปกรณ์แพทย์ เป็นต้น

ผู้ที่ไม่ควรรับยา PEP

ยา PEP มีข้อยกเว้น ดังนี้

  • ผู้ที่ติดเชื้อ HIV อยู่แล้ว: หากมีผลตรวจเลือดยืนยันว่าติดเชื้อ HIV ก่อนที่จะรับยา PEP จะไม่สามารถกินยาได้ เนื่องจากการกินยาในกรณีนี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงหรือการดื้อยา
  • ผู้ที่มีอาการแพ้ยาที่ใช้ในสูตร PEP: หากมีประวัติแพ้ยาที่อยู่ในสูตร PEP เช่น ยาต้านไวรัสบางชนิด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาและปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางเลือกอื่น
  • ผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำในการกินยา: ยา PEP ต้องกินตามกำหนดทุกวันเป็นเวลา 28 วัน หากไม่สามารถทำได้ อาจไม่เหมาะสมที่จะกินยา

วิธีกินยา PEP ที่ถูกต้อง

ยา PEP กินยังไง? การกินยา PEP ให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ จะมีต้องมีการเตรียมตัวก่อนกิน การปฏิบัติตัวระหว่างกิน และข้อแนะนำหลังกิน ดังนี้

การเตรียมตัวก่อนกินยา PEP

ก่อนเริ่มกินยา PEP ผู้ใช้ต้องเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อยืนยันว่าไม่มีการติดเชื้อ HIV และตรวจสุขภาพทั่วไป เช่น การทำงานของไตและการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หากผลตรวจไม่ปกติจะไม่สามารถกินยาได้

ที่สำคัญควรเริ่มกินยา PEP ภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากมีความเสี่ยง โดยยิ่งเริ่มเร็วเท่าไร ยิ่งมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ระหว่างกินยา PEP

ต้องกินยา PEP ทุกวันเป็นเวลา 28 วัน โดยควรกินวันละ 1 เม็ด ในเวลาเดียวกันทุกวัน จะกินยา PEP ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เพื่อรักษาระดับยาในเลือดให้คงที่ พร้อมกับไปพบแพทย์ตามนัด เพื่อประเมินสุขภาพและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ การงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติดทุกชนิด จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

ข้อแนะนำหลังกินครบ 28 วัน

หลังจากกินยาครบ 28 วัน ควรกลับไปตรวจเลือดอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าไม่มีการติดเชื้อ HIV และควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นในระหว่างหรือหลังจากการกินยา PEP ซึ่งจะมีการนัดและตรวจดูโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นระยะ ๆ เพื่อ Monitor อาการ

ข้อดีและข้อเสียของยา PEP

  • ข้อดี: ยา PEP มีการเข้าถึงง่าย ซึ่งผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย สามารถเข้ารับยา PEP ได้อย่างรวดเร็วและสะดวก
  • ข้อเสีย: ข้อเสียของยา PEP อาจจะมีผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง (ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน) โดยส่วนใหญ่จะหายไปภายในไม่กี่วัน หลังจากเริ่มกินยา PEP ดังนี้
    1. มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน มักจะเกิดขึ้นในช่วง 3-5 วันแรกหลังจากเริ่มกินยา
    2. อาการปวดหัวและเวียนหัวเป็นอาการที่พบได้ในช่วงแรกของการกินยา ซึ่งอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
    3. ในระยะเริ่มต้น บางคนอาจรู้สึกไม่ค่อยสบายตัว เช่น เหนื่อยง่าย ท้องเสีย หรือเบื่ออาหาร เป็นต้น

รับยา PEP ได้ที่ไหน ราคาเท่าไร

ยา PEP รับได้ที่ไหน ราคาเท่าไร? โดยยา PEP จะมีราคาที่แตกต่างกันไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาล ซึ่งสามารถรับยา PEP ได้ที่หน่วยบริการสุขภาพทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนหลายแห่งทั่วประเทศ โดยปัจจุบันยา PEP จะมี 8 ยี่ห้อ ดังนี้

  • TENOF-EM (not PEP -> PrEP when used alone)
  • TEGRAD (not PEP -> PrEP when used alone)
  • TELDY
  • KOCITAF
  • BIKTARVY
  • ATRIPLA (not use as PEP)
  • TEEVIR (not use as PEP)
  • TRUSTIVA (not use as PEP)

นอกจากนี้ ยังสามารถติดต่อขอรับยาจาก Z by Zeniq ที่พร้อมให้บริการแบบครบวงจร ทั้งการประเมินความเสี่ยง การให้คำปรึกษา และการจ่ายยา

Oral SEX ต้องกินยาหรือไม่ และมีสิทธิ์ติดเชื้อ HIV ไหม

การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก (Oral Sex) แม้จะมีความเสี่ยงต่ำมากในการติดเชื้อ HIV แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัย 100%

นอกจากนี้ ความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นในกรณีที่มีแผลในช่องปากหรือมีเลือดออก และยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นสำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ HIV โดยไม่มีการป้องกัน ดังนั้น การป้องกันและระมัดระวังจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย

กินยาแล้ว ยังต้องใส่ถุงยางหรือไม่

แม้ยา PEP จะมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV แต่ไม่ได้รับประกันว่าจะป้องกันได้ 100% การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ในระหว่างกินยา PEP จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV แล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ที่ยา PEP ไม่สามารถป้องกันได้

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยสูงสุดและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อเพิ่มเติม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ถุงยางอนามัยควบคู่ไปกับการกินยา PEP ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ โดยการป้องกัน 2 ชั้น เช่นนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้ดียิ่งขึ้น

สรุป

ยา PEP (Post-Exposure Prophylaxis) เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อ HIV หลังมีความเสี่ยง ต่างจาก PrEP ที่ต้องกินก่อนมีความเสี่ยง โดยผู้ที่ควรได้รับยา PEP คือผู้ที่มีความเสี่ยงจากการสัมผัสเชื้อ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย หรือถูกเข็มที่ปนเปื้อนเชื้อทิ่มตำ ซึ่งต้องเริ่มกินภายใน 72 ชั่วโมงและกินต่อเนื่อง 28 วัน อย่างไรก็ตาม ยา PEP อาจจะมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น คลื่นไส้ อ่อนเพลีย เป็นต้น

นอกจากนี้ การ Oral Sex ถึงแม้จะมีความเสี่ยงต่ำ แต่ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ โดยเฉพาะถ้ามีแผลในปาก และที่สำคัญแม้จะกินยา PEP อยู่ก็ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะยาไม่ได้ป้องกันได้ 100% และไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้