รู้หรือไม่? กลุ่มผู้หญิงไทยมีความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกเป็นอันดับสอง รองจากมะเร็งเต้านม และมีสถิติการเสียชีวิต จากมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 4,500 รายต่อปี แถมยังมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอายุน้อยที่สุดอยู่ที่ 20 ปี อย่างไรก็ตาม หากรู้ก่อนก็สามารถป้องกันและรักษามะเร็งปากมดลูกให้หายได้เช่นกัน
บทความนี้จะพาไปดูว่าอาการมะเร็งปากมดลูกเป็นอย่างไร เพื่อให้คุณได้สังเกตอาการของโรคเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง พร้อมเผยสาเหตุ แนวทางรักษา และวิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูก หาคำตอบได้ในบทความนี้เลย
ไขข้อสงสัย มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร?
โรคมะเร็งปากมดลูก คื อมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณเซลล์ปากมดลูก ที่อยู่ระหว่างช่วงล่างของตัวมดลูกและช่องคลอด โดยมะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร? สาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อ Human Papilloma Virus หรือที่รู้จักกันในชื่อ เอชพีวี (HPV) ที่มักติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยปกติแล้วในชีวิตของผู้หญิงอาจมีการรับเชื้อตัวนี้เข้ามาในร่างกาย แม้ว่าระบบภูมิคุ้มกันจะเข้ามากำจัดเชื้อได้ แต่เชื้อก็อาจยังมีเชื้อหลงเหลือจนทำให้เนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนากลายเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้
นอกจากเชื้อ HPV มะเร็งปากมดลูกยังเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
- อายุที่มากขึ้น โดยมักพบในกลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
- พฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนหลาย ๆ คน
- การมีบุตรเป็นจำนวนมาก
- การสูบบุหรี่
- ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
เช็คอาการมะเร็งปากมดลูก มีอะไรบ้าง?
มาดูเช็กลิสต์อาการมะเร็งปากมดลูก เพื่อสังเกตร่างกายตัวเองง่าย ๆ หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกทันที
- อาการเลือกออกทางช่องคลอด เช่น มีเลือกออกกะปริบกะปรอย ประจำเดือนมาผิดปกติ เลือดออกหลังหมดประจำเดือน เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
- อาการตกขาวผิดปกติ เช่น ตกขาวมีเลือดปน ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ตกขาวมากกว่าปกติ เป็นต้น
- อาการปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย
- อาการเจ็บหรือปวดหลังมีเพศสัมพันธ์
- อาการขับถ่ายเป็นเลือด
- อาการน้ำหนักลดผิดปกติ
- อาการปวดหลัง ขาบวม และอาจมีอาการไตวายร่วมด้วยในกรณีที่มะเร็งมีระยะรุนแรง
อาการมะเร็งปากมดลูก 4 ระยะ
นอกจากอาการมะเร็งปากมดลูกข้างต้นแล้ว ยังสามารถแบ่งอาการของมะเร็งปากมดลูกตามระยะของโรคนี้ได้ด้วยเช่นกัน โดยมีรายละเอียดอาการดังนี้
- มะเร็งปากมดลูกระยะที่ 1 เป็นระยะที่มะเร็งปากมดลูกยังไม่ลุกลาม จึงยังไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็นชัดเจนมากนัก แต่อาจมีการตกเลือด ตกขาว รวมถึงเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
- มะเร็งปากมดลูกระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งเริ่มลุกลามไปยังส่วนบนช่องคลอด สามารถสังเกตเห็นอาการเริ่มแรกผิดปกติได้ง่ายขึ้น ผู้ป่วยมักจะตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นแรง มีเลือดออกบริเวณช่องคลอด พร้อมกับอาการเจ็บช่วงท้องน้อยร่วมด้วย
- มะเร็งปากมดลูกระยะที่ 3 เป็นระยะที่มะเร็งเริ่มลุกลามแทบจะทั่วมดลูกแล้ว ทำให้มีอาการเลือดออกบริเวณมดลูกมากกว่าปกติ ทั้งประจำเดือนมามาก มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือน รวมถึงมีเลือดปนมากับตกขาว พร้อมกับอาการปวดท้องน้อยที่มากขึ้น
- มะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ทั้งลำไส้ ตับ กระเพาะปัสสาวะ และกระดูก มีอาการเจ็บปวดตามร่วงกายอย่างรุนแรง
ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ทำได้อย่างไร?
การป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุด คือการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ที่เป็นสาเหตุหลักของโรคนี้นั่นเอง โดยปกติแล้วต้องฉีดให้ครบทั้ง 3 เข็ม และควรฉีดตั้งแต่เด็กหรือก่อนจะมีเพศสัมพันธ์ เพราะเป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงยังไม่มีการติดเชื้อ HPV หรือยังไม่มีเซลล์ที่ผิดปกติบริเวณปากมดลูก วัคซีนจึงช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
นอกจากนี้ ยังมีแนวทางการใช้ชีวิตเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกอื่น ๆ ที่แพทย์แนะนำอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น
- ควรหมั่นตรวจคัดกรองหาความผิดปกติมะเร็งปากมดลูกปีละครั้ง
- สวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ
- หากมีอาการผิดปกติเช่น เลือกออกบริเวณมดลูก หรือตกขาวผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว
3 วิธีการตรวจหามะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หากหมั่นตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอเพื่อสังเกตความผิดปกติของร่างกาย โดยในปัจจุบันมีแนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยกัน 3 วิธี ดังนี้
1. การตรวจแพปสเมียร์ (Pep Smear)
การตรวจแพปสเมียร์ (Pep Smear) คือการที่แพทย์ใช้ไม้พายเข้าไปเก็บเนื้อเยื่อที่บริเวณปากมดลูก จากนั้นนำเอาเนื้อเยื่อไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาอย่างยาวนาน และยังเป็นวิธีที่ราคาไม่สูงมาก โดยแนะนำให้ตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจแพปสเมียร์ (Pep Smear) อย่างน้อยปีละครั้ง
2. การตรวจเอชพีวี ดีเอ็นเอ (HPV DNA)
การตรวจเอชพีวี ดีเอ็นเอ (HPV DNA) คือขั้นตอนการตรวจมะเร็งปากมดลูกจาก DNA ของผู้ป่วย มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูง สามารถหาเชื้อ HPV ได้ตั้งแต่ในระยะก่อนพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูก ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถป้องกันรวมถึงรักษามะเร็งปากมดลูกได้อย่างทันท่วงที แนะนำให้ตรวจ 5 ปีต่อครั้ง
3. การตรวจตินเพร็พ (ThinPrep)
การตรวจตินเพร็พ (ThinPrep) คือขั้นตอนการตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยใช้เครื่องมือสอดผ่านช่องคลอดเพื่อนำเซลล์ที่อยู่บริเวณปากมดลูกออกมาบางส่วน แล้วนำไปส่งตรวจในห้องแล็บย่างละเอียด แนะนำให้ตรวจ
แนวทางการรักษามะเร็งปากมดลูก
ในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะมีแนวทางการรักษาที่ขึ้นอยู่กับระยะและอาการมะเร็งปากมดลูก ดังนี้
- ระยะก่อนมะเร็งปากมดลูกลุกลาม รักษาได้หลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด การใช้ความเย็นจี้ปากมดลูก และการตัดปากมดลูกออกดด้วยมีด
- มะเร็งปากมดลูกระยะแรกและระยะที่ 2 รักษาได้โดยการผ่าตัดมดลูกออกแบบกว้าง พร้อมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณเชิงกรานออก
- มะเร็งปากมดลูกระยะที่ 3 และ 4 รักษาได้ด้วยการใช้รังสีรักษา (Radiation) ร่วมกับการทำเคมีบำบัด (Chemotherapy)
หากเป็นแล้ว สามารถรักษาหายไหม?
เมื่อได้รู้แนวทางการรักษาโรคกันไปแล้ว ผู้ป่วยบางคนยังคงสงสัยกันว่ามะเร็งปากมดลูก เป็นแล้วรักษาหายไหม? คำตอบก็ขึ้นอยู่กับระยะ อาการ และผลลัพธ์หลังการรักษาของแต่ละบุคคล โดยระยะก่อนลุกลาม หากรักษาแล้วผลลัพธ์ออกมาดู ผู้ป่วยก็มีโอกาสหายสูงมาก ส่วนมะเร็งปากมดลูกระยะแรกและระยะที่ 2 รักษาหายไหม? แน่นอนว่าหากหลังการผ่าตัดแล้วผลการรักษาดีก็มีโอกาสหายได้สูงมากเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม มะเร็งปากมดลูกระยะ 4 รักษาหายไหม? ส่วนใหญ่จะทำได้แค่รักษาเพื่อประคับประคองอาการเท่านั้น ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
สรุป
มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคร้ายที่พบมากในผู้หญิงและไม่ควรมองข้าม ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก และหมั่นตรวจหาความผิดปกติของมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี โดยเลือกตรวจกับโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีเครื่องมือทางการแพทย์และเทคโนโลยีที่ครบครัน เชื่อถือได้ อย่างที่ Z by Zeniq ที่นี่มีบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกแบบครบวงจร พร้อมให้คำปรึกษาเพื่อป้องกันและรักษามะเร็งปากมดลูกได้อย่างถูกวิธี
ที่ Z by Zeniq คือคลินิกสุขภาพทางเพศ รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างครอบคลุมและเป็นความลับ เรามีแพทย์เวชศาสตร์ทางเพศพร้อมให้บริการ ทั้งการตรวจวินิจฉัย และให้คำปรึกษาอย่างละเอียด ในบรรยากาศที่เป็นส่วนตัว ปลอดภัย และไม่ตัดสิน คุณสามารถนัดหมายได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือโทรมาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย