โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ถือเป็นภัยร้ายที่ควรระวังและปกป้องกันอย่างเคร่งครัด ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนมีหลากหลายรูปแบบ และมีความรุนแรงแตกต่างกันไป หนึ่งในนั้นคือ โรคหูดหงอนไก่ ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน โดยโรคหูดหงอนไก่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพร้ายแรงในอนาคตได้ ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง
บทความนี้ เราจะพาทุกคนมารู้จักกับโรคหูดหงอนไก่อย่างละเอียด ตั้งแต่สาเหตุของการเกิดโรค ลักษณะอาการ รวมถึงวิธีการรักษา และการป้องกันอย่างถูกวิธี เพื่อให้คุณสามารถเข้าใจและดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
หูดหงอนไก่ (Genital warts) คืออะไร?
โรคหูดหงอนไก่ คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) โดยพบได้บ่อยในสายพันธุ์ที่ 6 และ 11 เป็นสายพันธุ์ไม่รุนแรงที่ไม่ส่งผลให้เกิดมะเร็ง มีลักษณะขึ้นเป็นตุ่มนูน หรือติ่งขรุขระคล้ายหงอนไก่ หรืออาจจะคล้ายดอกกะหล่ำ เมื่อกดจะไม่รู้สึกเจ็บ นุ่ม และมีขนาดตั้งแต่ 2 มิลลิเมตร ถึง 5 เซนติเมตร
สาเหตุของการเกิดหูดหงอนไก่
โรคหูดหงอนไก่เกิดจากอะไร? สาเหตุเกิดหูดหงอนไก่จากเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) การติดเชื้อของโรคนี้จะทำให้เนื้อเยื่อได้รับความเสียหาย ทั้งยังเกิดรอยจางได้อีกด้วย โดยปกติแล้วการเป็นโรคหูดหงอนไก่จะไม่ส่งผลในการเกิดโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากมีการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่รุนแรง สามารถส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งทวารหนักได้ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ มีดังนี้
- การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ หูดหงอนไก่สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างเพศชาย-เพศหญิง เพศชาย-เพศชาย และเพศหญิง-เพศหญิง ผ่านทางปาก ทางช่องคลอด และทางทวารหนัก
- การออรัลเซ็กส์ (Oral Sex) ให้กับผู้ที่เป็นหูดหงอนไก่ หรือติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ 6 และ 11
- การจูบ หรือการสัมผัสแนบชิดกัน รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้หลั่งออกมา
- การสัมผัสอวัยวะตามร่างกายที่มีเชื้อ HPV อาทิ ปาก มือ นิ้วมือ นิ้วเท้า เป็นต้น
- การใช้สิ่งของร่วมกัน อาทิ แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว เครื่องสำอางอย่างลิปสติก สบู่ มีดโกน รวมถึงอุปกรณ์ของเล่นสำหรับการมีเพศสัมพันธ์อย่าง SEX Toy
- บุคคลที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ อาทิ ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ที่มีการทานยากดภูมิคุ้มกัน หรือผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
- บุคคลที่เคยเป็นเริม
- แม่ที่เป็นโรคหูดหงอนไก่ส่งผ่านลูกผ่านการคลอดธรรมชาติ
หูดหงอนไก่ มีอาการอย่างไรบ้าง
โดยทั่วไปแล้วเมื่อเป็นโรคหูดหงอนไก่ ในระยะเริ่มต้นจะไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา เนื่องจากเชื้อไวรัสกำลังฟักตัว แต่เมื่อผ่านไประยะเวลา 3 สัปดาห์ อาการผู้ที่เป็นหูดหงอนไก่ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะมีอาการคล้ายกัน ดังนี้
- ผิวหนังจะเกิดก้อนเนื้อเล็ก ๆ หรือติ่งเนื้อขรุขระยื่นออกมาตามร่างกาย อาจมีเพียงติ่งเนื้อติ่งเดียว หรือสามารถจับตัวเป็นกลุ่มก้อน
- มีตุ่มที่มีลักษณะสีแดง สีขาว สีเนื้อ และสีชมพู
- รูปลักษณ์คล้ายกับหงอนไก่ หรือดอกกะหล่ำ
- มีอาการคันระคายเคือง มีการอักเสบ หรือผู้หญิงอาจมีตกขาวผิดปกติ บางรายอาจมีเลือดออกบริเวณที่หูด หรือเลือดออกขณะกำลังมีเพศสัมพันธ์
บริเวณที่พบหูดหงอนไก่
โรคหูดหงอนไก่ มักเกิดขึ้นบริเวณต่าง ๆ ทั่วร่างกายที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ เกิดขึ้นได้ดีในบริเวณที่อับชื้น ที่ร้อนชื้น ดังนี้
- หูดหงอนไก่รอบบริเวณอวัยวะเพศชาย และอวัยวะเพศหญิง
- หูดหงอนไก่ใต้หนังหุ้มองคชาต หรืออัณฑะ
- หูดหงอนไก่จะอยู่บริเวณริมฝีปาก หรือในปาก ซึ่งบางรายอาจจะเกิดที่ใต้ลิ้น
- หูดหงอนไก่ช่องคลอด หรือรอบปากมดลูก
- หูดหงอนไก่ท่อปัสสาวะ
- หูดหงอนไก่บริเวณที่รูทวารหนัก
หูดหงอนไก่ อันตรายไหม
หูดหงอนไก่ อันตรายไหม? เป็นที่ทราบกันดีว่า หูดหงอนไก่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีการติดเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) ในสายพันธุ์ที่ 6 และ 11 ซึ่งสายพันธุ์นี้ไม่เกิดอันตรายที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง แต่อาจมีผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจในอนาคตได้ ดังนี้
- เกิดความไม่มั่นใจในร่างกายตนเอง เนื่องจากลักษณะของหูดหงอนไก่ที่เกิดขึ้นตามบริเวณร่างกายอาจทำให้หลายคนเกิดความวิตกกังวล รู้สึกไม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง
- มีปัญหาในเรื่องความต้องการทางเพศ เนื่องจากเป็นผลมาจากการไม่มั่นใจในรูปลักษณะร่างกายของตัวเอง และกลัวการกลับมาเกิดโรคซ้ำ ทำให้หลายคนมีความต้องการทางเพศลงลด
- การติดเชื้อร่วม HPV ผู้ป่วยที่เป็นโรคหูดหงอนไก่ บางรายพบว่ามีการติดเชื้อ HPV ในสายพันธุ์อื่นที่มีความเสี่ยงสูง จนส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งทวารหนักได้
นอกจากนี้ ถึงแม้การเกิดโรคหูดหงอนไก่จะไม่เกิดอันตรายแก่ผู้ใหญ่ก็ตาม แต่เมื่อมารดามีการส่งต่อไปยังลูกผ่านการคลอดธรรมชาติ อาจทำให้ทารกได้รับความเสี่ยงเป็นโรคหูดหงอนไก่จากสารคัดหลั่งบริเวณช่องคลอด ซึ่งส่งผลอันตรายต่อเด็กทารก ที่อาจเกิดหูดบริเวณทางเดินหายใจ หลอดลม หรือคอหอยไปปิดกั้นทางเดินหายใจจนทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ดังนั้น เมื่อใดที่แม่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหูดหงอนไก่ ทางแพทย์จำเป็นจะต้องผ่าคลอดแทนคลอดด้วยธรรมชาติ
ตรวจวินิจฉัยวิธีใดได้บ้าง
การตรวจวินิจฉัยหูดหงอนไก่ ทางทีมแพทย์จะทำการตรวจเบื้องต้นโดยพิจารณาลักษณะของรอยภายนอกว่ามีลักษณะอย่างไรร่วมกับการนำชิ้นเนื้อไปตรวจเพื่อยืนยันหาสาเหตุของโรคอย่างแน่ชัด จนนำไปสู่การรักษาอย่างตรงจุด
ทั้งนี้ หากมีการวินิจฉัยในการตรวจหาหูดหงอนไก่ภายในอวัยวะ อาทิ ปากมดลูก ทางสูตินรีแพทย์จะมีการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อความแม่นยำ โดยจะมีวิธีการวินิจฉัย ดังต่อไปนี้
ตรวจภายในร่างกาย
โดยสูตินรีแพทย์จะตรวจภายในร่างกาย เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน และบริเวณรอบ ๆ ใกล้เคียง ตั้งแต่ บริเวณรอบปากของช่องคลอด แคมนอก-ใน ผนังช่องคลอด และปากมดลูก โดยเพื่อความแม่นยำทางการแพทย์อาจจะใช้เครื่องมือด้วยวิธีการตรวจคอลโปสโคป (Colposcope) ที่จะเข้าไปส่องกล้องปากมดลูกของผู้หญิง หรือการส่องกล้องเพื่อหาความผิดปกติบริเวณช่องคลอด และอวัยวะภายนอกอื่น ๆ
การตรวจมะเร็งปากมดลูก
สำหรับท่านใดที่มีเลือดออกจากช่องคลอด มีหนอง มีความผิดปกติที่ช่องคลอด สูตินรีแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยให้มีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ที่อาจมาจากสาเหตุมาการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงจนส่งผลให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้
การตรวจหาสายพันธุ์ HPV
วิธีนี้เป็นการตรวจหาเชื้อ HPV อย่างเจาะลึก เพื่อตรวจหาระดับ DNA ว่าเชื้อสายพันธุ์นี้มีความสัมพันธ์ในการเกิดโรคหูดหงอนไก่หรือไม่ รวมถึงตรวจหาเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงจนนำไปเกิดโรคมะเร็งอื่น ๆ ได้
การตรวจทางทวารหนัก
วิธีนี้เป็นการตรวจหาความปิดปกติของภายในทวารหนัก บริเวณหูรูด และบริเวณรอบ ๆ ทวารหนัก โดยใช้วิธีการส่องกล้องเข้าไปดูทวารหนัก
วิธีรักษาหูดหงอนไก่
เมื่อเกิดความสงสัยว่าหูดหงอนไก่หายเองได้ไหม? ถึงแม้หูดหงอนไก่จะเป็นโรคที่ไม่อันตรายต่อชีวิต แต่โรคหูดหงอนไก่ก็ไม่สามารถรักษาให้หายเองได้ เนื่องจากเชื้อไวรัส HPV จะยังคงอยู่ในร่างกาย และสามารถกลับมาเกิดซ้ำได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม ต้องได้รับการรักษาหูดหงอนไก่จากแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้หูดหงอนไก่เพิ่มจำนวนหรือขยายใหญ่มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดสู่คนอื่น ซึ่งทางการแพทย์ได้มีการรักษาหลากหลายวิธี ดังนี้
การให้ยาทา
แพทย์จะให้ยาทาทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อไปยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์หูดหงอนไก่ ทำให้เซลล์นั้นถูกระงับและหลุดออกไป
การผ่าตัดนำชิ้นเนื้อออก
แพทย์จะใช้วิธีการรักษาโดยการผ่าตัดเอาหูดหงอนไก่ที่มีขนาดใหญ่ออก รวมถึงคนที่ตั้งครรภ์กำลังจะคลอดบุตรเพื่อป้องกันการติดเชื้อสู่ลูก
การจี้ด้วยไฟฟ้า
การรักษาด้วยการใช้ความร้อนจากไฟฟ้า จี้ไปยังหูดหงอนไก่เพื่อทำลายและกำจัดติ่งเนื้อออกไป
การจี้เย็นจากไนโตรเจนเหลว
การรักษาเพื่อยับยั้งการขยายของหูด เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้คนที่เป็นโรคหูดหงอนไก่กลับมามีผิวที่เรียบเนียนอีกครั้ง
การเลเซอร์
วิธีการรักษาที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นหูดหงอนไก่ที่มีขนาดใหญ่กว้าง และทำการรักษาได้ยาก
การดูแลตัวเองเบื้องต้น
เมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคหูดหงอนไก่แล้ว นอกจากการรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อการรักษาได้ทันด่วน แล้วยังสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้น ดังนี้
- การแช่น้ำอุ่นวันละ 10-15 นาที ช่วยบรรเทาอาการปวด และคันบริเวณหูดได้
- ละเว้นการถูบริเวณหูดเพื่อลดการระคายเคือง โดยสามารถทำความสะอาดเบา ๆ ด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำสะอาด
- ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- ดูแลบริเวณหูดให้แห้งอยู่เสมอ อย่าให้เกิดความอับชื้น เพราะอาจเป็นการกระตุ้นให้หูดเติบโตได้
- หูดหงอนไก่ห้ามกินอะไร? ซึ่งผู้ที่เป็นหูดหงอนไก่ควรเลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด การสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารแปรรูป รวมถึงของหมักดอง เพราะอาจส่งผลให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าเดิม
หูดหงอนไก่เกิดซ้ำได้หรือไม่
หูดหงอนไก่เมื่อหายดีแล้ว สามารถกลับมาเกิดซ้ำได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน เป็นจำนวนผู้ป่วยร้อยละ 70 เนื่องจากเชื้อไวรัสยังคงอยู่ในร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากการรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพ การติดต่อจากเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อซ้ำอีกครั้ง หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ชนิดอื่นที่แฝงมาเนื่องจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาทิ โรคมะเร็ง และโรคเอดส์
วิธีป้องกันและลดความเสี่ยงของโรค
วิธีการป้องกันหูดหงอนไก่มีหลายวิธีมากมายที่ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ มีดังนี้
- การฉีดวัคซีน HPV วิธีป้องกันที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดโรคหูดหงอนไก่ โดยสามารถฉีดได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป
- ป้องกันเวลามีเพศสัมพันธ์ ควรมีการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยในการป้องกันการติดเชื้อได้ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสอวัยวะเพศผู้ที่เป็นโรคหูดหงอนไก่
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ เนื่องจากการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการติดเชื้อได้
- งดใช้สิ่งของร่วมกัน ไม่ควรใช้ของส่วนตัว ได้แก่ ผ้าเช็ดตัว ลิปสติก แก้วน้ำ ของคนอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ
- รักษาความสะอาด ควรทำความสะอาดร่างกายเป็นประจำโดยเฉพาะอวัยวะเพศ เพื่อป้องกันการติดเชื้อได้
- ตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจสุขภาพเป็นวิธีการป้องกันอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยคัดกรองโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที
สรุป
หูดหงอนไก่ อาจส่งผลต่อร่างกายที่รุนแรงในอนาคตได้ โดยเฉพาะคู่รักทุกคู่ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถรถรักษาให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อสามารถกลับมาหายได้เป็นปกติ อย่างไรก็ตาม การมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้งควรมีการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ เช่น การสวมถุงยางอนามัย รวมถึงการตรวจสุขภาพประจำปีก็สามารถช่วยป้องกันโรคหูดหงอนไก่ได้
ที่ Z by Zeniq คือคลินิกสุขภาพทางเพศ รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างครอบคลุมและเป็นความลับ เรามีแพทย์เวชศาสตร์ทางเพศพร้อมให้บริการ ทั้งการตรวจวินิจฉัย และให้คำปรึกษาอย่างละเอียด ในบรรยากาศที่เป็นส่วนตัว ปลอดภัย และไม่ตัดสิน คุณสามารถนัดหมายได้ง่าย ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือโทรมาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย